กรมเกษตรเร่งเพิ่ม GAP! คาดปีหน้าเพิ่มแสนห้าหมื่นแปลง!
.
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เร่งให้เกษตรกรผลไม้ไทยเข้าระบบ GAP พร้อมเผยว่าสิงหานี้ จีนจะเปิดรับออเดอร์ส่งออก ส้มโอ มะขาม และเงาะ จากสวนที่มี GAP เท่านั้น! เตือน! หากมีปัญหาสวมรอย GAP ซ้ำๆ จีนอาจระงับนำเข้าผลไม้ไทยทั้งหมด!
.
นายพิเชษฐ์ยังเสริมอีกว่า ในช่วงฤดูกาลส่งออกผลไม้ในภาคตะวันออกในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ จะมีผลผลิตทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทุเรียนแหล่งใหญ่ในภาคตะวันออกเพื่อออกสู่ท้องตลาดมากสุดถึง 166,583 ตัน หรือคิดเป็น 41% ของผลผลิตที่ออกมาทั้งหมดตั้งแต่เดือนมกราคม
.
จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ปลูกทุเรียนจำนวน 264,464 ไร่ เป็นเนื้อที่ให้ผลผลิตจำนวน 204,535 ไร่ ซึ่งในปีนี้ มีเกษตรกรชาวสวนทุเรียนมายื่นขอรับรองแปลงตามมาตฐาน GAP จำนวน 204,146 ไร่ จำนวน 18,172 แปลง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะเร่งตรวจสอบและรับรองแปลง GAP ให้ครบทั้งหมด 100% ตามที่ได้ยื่นรับรองมา
.
โดยข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรแจ้งว่า ปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตทุเรียนในจังหวัดจันทบุรีมากถึง 398,618 ตัน ซึ่งมากกว่าปี 2563 ที่ให้ผลผลิต 380,446 ตัน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศจีน โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกผลไม้ไปจีนรวมปริมาณทั้งสิ้น 1,623,523 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 102,717 ล้านบาท ซึ่งทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ไทยที่ได้รับความนิยมจากจีนและมีปริมาณการส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 618,783 ตัน คิดเป็นมูลค่า 66,017 ล้านบาท
.
สำหรับในปี 2564 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแผนการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช GAP รวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 120,000 แปลง** โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผลไม้หลักส่งออกที่จำเป็นต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ตามเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ และมะม่วง ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศจีน และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท
.
กรมวิชาการเกษตรได้ย้ำเตือนเกษตรกรในเรื่องความถูกต้องของใบรับรอง GAP เนื่องจากที่ผ่านมา มีการปลอมแปลงและสวมรอยใบรับรอง GAP และทำให้เจ้าของหมายเลข GAP ที่ถูกปลอมแปลงได้รับความเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่กำชับให้ชาวสวนกรอกรายละเอียดการซื้อขายและต้องเซ็นกำกับในใบสำเนา GAP ที่ส่งให้ผู้ซื้อทุกครั้ง
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร และ สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร https://www.am1386.com/home/6502
ในฤดูกาลนี้ ตัดข้ามรุ่นกันเยอะเรยทีเดียวครับ ราคาปลายทางก้อลง พอลงก้อบ่นกัน โทดโน้นนั่นนี่แต่ไม่โทษตัวเอง ที่เป็นแบบนี้เพราะเราเอง ชาวสวน ไม่ช่วยกันคับ อย่าเห็นแก่ราคาที่สูง ยอมรับนะคับบางสวนต้นทุนสูงอยากได้กำไร เม็ดเงินเยอะๆๆๆ แต่ไม่ได้นึงถึงคุณภาพผลผลิตเรยย เอาแต่จะได้ เห็นแก่ตัวอย่างเดียว แบบนี้อนาคต ทุเรียนไทย แย่แน่ๆๆคับ (ขนาดผมมี GAP ทุกแปลง รุ่นบาน10ธค.-20 ผมยังไม่กล้าตัดเรย เพราะสภาพต้นไม่พร้อม ลัดใบอ่อน แต่ข้างๆสวนไปหมดแล้ว งงใจ ฝากไว้ให้คิดครับ ว่าอนาคตทุเรียนไทย จะเป็นอย่างไร ขอบคุนมากคับบ)