การผลิตส้มนอกฤดู
ส้มเปลือกร่อนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่เกษตรกรเลือกปลูกกันมาก ผลผลิตในบางช่วงออกมามากมาจนแข่งขันกันเองและทำให้ราคาตกต่ำได้ เพื่อให้เกิดการขยายช่วงเวลาการผลิตให้ยาวนานยิ่งขึ้น เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาการแข่งขันทางด้านราคากันเอง และเพิ่มโอกาสตลาด การทำส้มเปลือกร่อนนอกฤดูจึงเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในขณะนี้ การผลิตส้มนอกฤดูมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้
ขั้นตอนและวิธีการผลิตส้มนอกฤดู
-
เลือกพันธุ์ส้มเพื่อการผลิตนอกฤดู เน้นพันธุ์ส้มที่ตลาดต้องการมากทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ ส้มพันธุ์เขียวหวาน ส้มพันธุ์โชกุน ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นต้น
-
อายุที่เหมาะสมต่อการทำการผลิตส้มนอกฤดู ต้นส้มเปลือกร่อนต้องมีอายุ 4-5 ปีสภาพต้นสมบูรณ์แข็งแรง
-
การเลือกช่วงเวลาการผลิต การผลิตส้มนอกฤดููส่วนใหญ่ภาคกลางช่วงเวลาที่ต้องการ ช่วงที่ 1 เก็บเกี่ยวผลในเดือนสิงหาคม และตุลาคมซึ่งเป็นช่วงสารทจีน และเทศกาลกินเจ ส่วนช่วงที่ 2 ต้องเก็บเกี่ยวผลในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีนซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ส้มเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้ราคาดี
-
การทำแผนการผลิตส้มนอกฤดู
การทำแผนการผลิตส้มเปลือกร่อนนอกฤดูจำเป็นต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่ต้องการจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเข้าสู่ตลาดในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น สารทจีน กินเจ ไหว้พระจันทร์ ปีใหม่ และตรุษจีน เป็นต้น รวมถึงต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่ต้องใช้ในการผลิตส้มนอกฤดูแต่ละขั้นตอน จึงจะสามารถจัดทำแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตออกมาตามที่ต้องการได้ ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องใช้มาประกอบจัดทำแผนการดำเนินการผลิตส้มนอกฤดูมีดังนี้
4.1 ช่วงเวลาหลังตัดแต่งกิ่งถึงแตกใบอ่อนใหม่ใช้เวลา 15-20 วัน
4.2 ช่วงเวลาแตกตาดอกถึงดอกบาน 30 วัน
4.3 ช่วงเวลาพัฒนา ผลอ่อนถึงผลแก่ ใช้เวลา 10 เดือน
วิธีการผลิตส้มนอกฤดู
- การเตรียมความพร้อมของต้นส้มเปลือกร่อน หลังเก็บเกี่ยวส้มไปแล้ว ควรเตรียมความพร้อมของต้นส้มให้สมบูรณ์ โดยการฟื้นฟูสภาพต้นส้มดังนี้
1.1. การตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งส้มทันทีหลังเก็บผลเสร็จแล้วประมาณพฤษภาคม -มิถุนายน โดยตัดกิ่งแห้ง กิ่งถูกโรค และแมลงเข้าทำลาย กิ่งแซมในทรงพุ่ม กิ่งกระโดงกิ่งซ้อนทับ กิ่งด้านล่างที่ติดพื้นดิน กิ่งหักหรือฉีกขาด
1.2. การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะช่วยปรับสภาพและโครงสร้างดินโดยแทรกตัวอยู่ในช่องว่างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย ปุ๋ยคอก ได้แก่ ขี้ค้างคาว ขี้ไก่แกลบ ขี้หมู ขี้วัว ขี้แพะ ขี้ม้า อัตรา 10 – 20 กิโลกรัมต่อต้นแล้วอายุต้น โดยใส่เลยรอบๆชายพุ่มตกออกมา 30 เซนติเมตรแล้วทำการหลังใส่ปุ๋ยเพื่อปุ๋ยคอกพรวนดินคลุกเคล้าไปกับดิน
ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือ 25-7-7 ใส่ตามแนวชายพุ่มตกหรือจะใส่ควบคู่ไปกับปุ๋ย อินทรีย์ในคราวเดียวกันก็ได้ อัตรา ½ ของอายุต้น โดยการพรวนดินเป็นวงแหวนหลังใส่ปุ๋ยแล้วกลบดินเพื่อปุ๋ยกระจายหรือไหลไปกับน้ำรูปที่3
หลังใส่ปุ๋ยแล้วตรงรีบให้น้ำทันที เพื่อให้ปุ๋ยละลายลงสู่ดิน พืชเอาใช้ได้ทันที และเม็ดดินจะช่วยจับปุ๋ยเอาไว้ไม่เกิดการสูญเสียไปกับลมและแสงแดด หลังให้น้ำไปแล้ว 7-10 วัน ส้มก็จะแตกใบอ่อน
1.3. การปฏิบัติดูแลช่วงส้มแตกใบอ่อน
หลังแตกใบอ่อนต้นส้มมักจะมีโรคและแมลง เข้ามาทำลาย แมลงมี่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ย ไฟ ไรแดง หนอนแก้ว หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ และโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคแคงเกอร์ โรคราน้ำหมาก โรคราแอนแทรคโนส หลักการต้องรักษาใบอ่อนให้เป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ต่อไป
1.4. ใส่ปุ๋ยเพื่อสะสมตาดอก
หลังจากที่มีการแตกใบอ่อนไปแล้ว 30-45 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ 12-24-12,8-24-24 หรือ 9-24-24 อัตราเป็นกิโลกรัม = 1/2 ของอายุต้น เพื่อสะสมตาดอก
การบังคับให้ส้มเปลือกร่อนออกดอกนอกฤดู
หลังจากได้ทำการใส่ปุ๋ยเพื่อสะสมตาดอกมาแล้วใบส้มเริ่มแก่สีเขียวเข้ม เมื่อบีบตามยาวของใบมีสีเสียงกรอบ ให้ดำเนินการเพื่อบังคับออกดอกนอกฤดู ดังนี้
-
งดการให้น้ำ กักน้ำในร่องสวนให้เหลือ 1/3 ของระดับปกติ พร้อมหยุดการให้น้ำแก่ต้นส้ม บนผิวดินด้วย
-
การเร่งให้ใบแก่เร็ว โดย การฉีดพ่นปุ๋ย 0-52 –34 (โมโนโปรแตสเซี่ยมฟอสเฟรท) 1-2 ครั้งเพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น
-
สำรวจความพร้อมของต้นส้ม หลังทำการงดน้ำไปแล้ว 15-20 วันต้นส้มจะแสดงอาการขาดน้ำ ใบสีเหลือง ห่อ เหี่ยวและเห็นใบหลุดล่วงแสดงว่าต้นส้มมีการสะสมอาหารเต็มที่แล้ว พร้อมที่จะทำการกระตุ้นให้แตกตาดอกต่อไป
การกระตุ้นให้ต้นส้มเปลือกร่อนออกดอก
การกระตุ้นออกดอกโดยขึ้นน้ำส้ม มีหลากหลายแบบ แบบหัวเหวี่ยง ใช้แบบเรือรดน้ำ หรือปล่อยน้ำให้เข้าตามปกติ แล้วให้น้ำอย่างเต็มที่ หรือใช้วิธีปล่อยให้น้ำท่วมถึงโคนนานประมาณ 10 -12 ชั่วโมงแล้วค่อยลดระดับน้ำลงมาอยู่ระดับปกติหลังจากนั้นก็ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ต่อไป ประมาณ 7-10 วันส้มก็จะแตกตาใบพร้อมกับดอก
การดูแลรักษาดอกอ่อน-ผลแก่
-
การป้องกันกำจัดศัตรูส้ม แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน เพลี้ยไฟพริก ไรแดงและไรสนิมส้ม ส่วนโรคที่สำคัญได้แก่ โรคแคงเกอร์ และโรคราแอนแทรคโนส ดำเนินจากง่ายไปหายาก หรือจากวิธีที่อ่อนกว่าแล้วค่อยสู่วิธีที่รุนแรงกว่าพร้อมการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
-
การให้น้ำ หลังที่ส้มเริ่มติดผลแล้ว ต้องให้อย่างต่อเนื่องจากน้อยแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นจนเพียงพอต่อความต้องการ ยกเว้นในช่วงที่มีฝนตก ต้องระวังอย่าให้ส้มขาดน้ำเพราะจะทำให้เนื้อฟ่าม และอาจเกิดผลแตก(จากการขาดน้ำนานๆแล้วมาให้น้ำใหม่ในปริมาณที่มากหรือเกิดฝนตกหนักมาในระหว่างที่ขาดน้ำ ก็จะทำให้ผลแตกได้)
-
การให้ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยขยายขนาดผล หลังที่ส้มติดผลแล้วขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย 1-1.5 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 1เดือน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15หรือ 16-16-16 อัตรากิโลกรัม= ½ ของอายุต้นโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
ปุ๋ยพัฒนาคุณภาพผล หลังส้มมีอายุได้ 5 เดือน ส้มจะค่อยหยุดการเจริญเติบโตน้อยลงแต่ส้มจะพัฒนาคุณภาพ ทางด้านแป้งและน้ำตาล จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ที่มีตัวท้ายสูงเช่น 13-13-21 หรือ 12-12-17+2 Mg อัตรากิโกกรัม= ½ ของอายุต้นโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง หรือให้ปุ๋ยทางใบสูตร 0-0-60 ควบคู่กันไปแล้วแต่ความเหมาะสม
การเก็บเกี่ยว
ให้เก็บเกี่ยวส้มที่มีอายุความสุกแก่เหมาะสม 9-10 เดือน ผิวเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง ส้ม ความหวาน 13-14 บริกซ์ ชิมดูว่ารสชาติกลมกล่อมหรือยัง การเก็บโดยใช้กรรไกรตัดขั้ว และเก็บด้วยความระมัดระวัง
เรียบเรียงโดย อาจารย์มนู โป้สมบูรณ์