การกำจัดวัชพืชในการปลูกทุเรียน
การกำจัดวัชพืชในการปลูกทุเรียน คือ การบริหารจัดการวัชพืชในแปลงปลูกทุเรียนให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตทุเรียนให้ได้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนต่ำ ไม่เป็นพิษต่อต้นทุเรียน ต่อเกษตรกรเองและต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตรวดเร็วมากขึ้น
การป้องกันและกำจัดวัชพืชในการปลูกทุเรียน
การกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกทุเรียน มี 2 วิธี ได้แก่ การกำจัดวัชพืชแบบวิธีกล และการกำจัดวัชพืชแบบการใช้สารเคมี
- การกำจัดวัชพืชแบบวิธีกล เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในไม้ผลเกือบทุกชนิด สะดวก ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เศษวัชพืชจะย่อยสลายเป็นอินทรีวัตถุและปุ๋ยต่อไป ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการดังนี้
-
บริเวณที่โล่งแจ้งระหว่างทรงพุ่ม ทางเดินระหว่างแปลงปลูก ควรเลือกใช้ รถขับตัดหญ้าล้อยาง หรือรถเข็นตัดหญ้าแบบล้อจักรยาน
-
ส่วนที่อยู่ใต้โคนต้นทุเรียน ใช้มีดพร้า เคียว หรือ เครื่องตัดหญ้า แบบสะพายไหล่ก็ได้
-
ช่วงเวลาการตัดหญ้าประมาณ เดือนละครั้งหรือ 2 เดือน ครั้ง แล้วแต่ความหนาแน่นของวัชพืชโดยจะเริ่มในช่วงฤดูฝน
- การกำจัดวัชพืชแบบใช้สารเคมี
-
ช่วงก่อนและหลังการราดสารที่จะต้องทำความสะอาดโคน ส่วนใต้ทรงพุ่มทุเรียนเล็กที่มีวัชพืชขึ้นหนาแน่น จำเป็นจะต้องใช้สารกำจัดวัชพืชที่สามารถกำจัดได้ทั้งวัชพืชใบแคบและใบกว้าง ได้แก่ สารไกลโฟเสท ในอัตรา 320-480 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ หรือ สารกลูโฟซิเนท ในอัตรา 240-320 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่
-
ช่วงปลายฤดูฝนซึ่งไม่มีผลผลิตแล้ว ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เพื่อทำลายที่หลบซ่อนของแมลง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง สารเคมีเช่นเดียวกันกับข้อ 1)
ประโยชน์ของวัชพืชในการปลูกทุเรียน
-
ช่วยควบคุมความชื้นของดินในแปลงปลูก รากทุเรียน สามารถดูดเอาน้ำไปใช้ได้
-
ช่วยรักษาอุณหภูมิของผิวดินไม่ให้สูงรากทุเรียนไม่ถูกแดดเผาและสามารถเจริญเติบโตแผ่ออกไปได้เพิ่มขึ้น
-
ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
-
ช่วยป้องกันการชะล้างบนหน้าดิน
-
ช่วยเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก
โทษของวัชพืชในการปลูกทุเรียน
-
เป็นที่หลบซ่อนของโรคและแมลงและสัตว์ศัตรูทุเรียน
-
วัชพืชจะแก่งแย่งปุ๋ยและธาตุอาหารที่ใส่ให้ทุเรียนจากดิน
-
วัชพืชเถาเลื้อย เช่น ตำลึง ตดหมูตดหมา ฯมักจะเจริญขึ้นปกคลุมต้นทุเรียนทำให้ได้รับแสงไม่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงทุเรียนเจริญเติบโตช้า ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ
-
ถ้าปล่อยให้วัชพืชเจริญเติบโตมากเกินไปอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน และเป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษ เช่น งู เป็นต้น
-
การมีวัชพืชปกคลุมดูแล้วได้ประโยชน์แต่ก็ต้องให้ปุ๋ย และน้ำเพิ่มขึ้น
เรียบเรียงโดย อาจารย์มนู โป้สมบูรณ์