ยางไม่ออกทำยังไง
ต้นอะไรคับผม ต้นยางมั้ยนิ
เป็นอาการของ โรคหน้ายางตายนี่ง
สาเหตุ
-สวนยางขาดการบำรุงรักษา
-การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนดและใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
-กรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไปกรีดถี่เกินไปและใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง
- เกิดการผิดปกติภายในท่อน้ำยาง
ลักษณะอาการของโรค
ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้
1.น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ
2.น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติการหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ
3.น้ำยางที่กรีดได้จะใสและมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ
4.เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง
ขณะเป็นโรค ต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหล เปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตก พุพอง แต่ต้นยางไม่ตาย ถ้าปล่อยปละไม่ควบคุม จะแพร่กระจายลุกลาม ทำให้หน้ากรีดของยางต้นนั้นเสียหายทั้งหมด(ไม่แพร่ระบาดไปสู่ต้นอื่น)การลุกลามของโรคมีหลายลักษณะดังนี้
1.โรคนี้ส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางด้านซ้ายมือเสมอ
2.เกิดโรคนี้แล้วไม่มีการดูแลรักษาโรคจะลุกลามไปยังหน้ากรีดที่อยู่ติดกัน
3. การลุกลามของโรคบนหน้ากรีด ถ้ากรีดจากบนลงล่างโรคก็จะลุกลามจากบนลงล่าง ถ้ากรีดจากล่างขึ้นบนโรคก็จะลุกลามจากล่างขึ้นบน
4. อาการเปลือกแห้งจะไม่ลุกลามจากเปลือกที่ยังไม่ทำการกรีดไปยังเปลือกงอกใหม่ และไม่ลุกลามจากเปลือกงอกใหม่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
5. ถ้าเป็นโรคเปลือกแห้งชนิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 - 3 เดือน หน้ากรีดของต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้งทั้งหมด
การจัดการ
1.เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก
2.ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ
3.ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง
4.อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด
5. หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ
ยางที่จะเปิดกรีดใหม่
- สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ก่อนเปิดกรีด 3 เดือน ควรทำร่องแยกหน้ากรีดออกจากกัน ในการทำร่องให้ใช้สิ่วเซาะเป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง
- ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น โดยให้ร่องจดกับร่องที่ทำแบ่งแยกหน้ากรีด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามลงสู่ราก
- เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาดและกรีดตามระบบที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง
ยางที่เปิดกรีดแล้วและเป็นโรคเปลือกแห้งเพียงบางส่วน
- หากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเพียงบางส่วน ถ้าไม่ควบคุมโรคจะลุกลามออกไป ทำให้หน้ากรีดเสียหายทั้งหมด
- ควบคุมโดยทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน วิธีทำร่องใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรคห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ2ซม.
- หลังจากทำร่องเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค
(ที่มา กรมวิชาการเกษตร)