สอบถามหน่อยครับน้าๆ ทุเรียนเป็นก้านธูปแบบนี้บำรุงรักษายาอะไรบางแล้วปุ๋ยที่เร่งให้แตกใบใส่สูตรไหน(ทางดิน )และทางใบควรพ่น

สอบถามหน่อยครับน้าๆ ทุเรียนเป็นก้านธูปแบบนี้บำรุงรักษายาอะไรบาง
แล้วปุ๋ยที่เร่งให้แตกใบใส่สูตรไหน(ทางดิน )และทางใบควรพ่นสูตรไหนเพื่อให้ใบแตกและฟื้นฟูต้นครับ การฝั่งเข็มจะพอที่จะช่วยไหม อาการแบบนี้ควรใส่สารอะไรที่ให้เร่งรากบางครับ ขอบคุณครับ

มีขั้นตอนแบบไหนน้าๆคอมเม้นท์บอกหน่อยครับ

3 Likes

คิดว่าลองสังเกตดูก็ได้นะคับว่าทอปลงมั๊ย ถ้าไม่มีก็ลองฟื้นฟูตามที่อาจารย์มนูเคยแนะนำคับ ผมเซฟไว้คับ

การดูแลทุเรียนหลังตัดลูก
การเตรียมความพร้อมของต้น เพื่อการสร้างผลคุณภาพ

กระตุ้นการแตกใบอ่อนชุดที่ 1
ทำความสะอาดโคนทุเรียน โดยคราดเอาใบแห้งออก ถอนและกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออก
ฟื้นฟูราก โดยใส่สารฮิวมิคแอซิด อัตรา 1000 มิลลิลิตรผสมปุ๋ย 30-20-10 อัตรา 300-500 กรัม ในน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นลงดินด้วยเครื่องฉีดแรงดันสูง ทุกๆ 7 วันจำนวน 3 ครั้ง
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15หรือ 16-16-16 อัตรา 3-4 กิโลกรัม/ต้นผสมกับ 30-0-0จำนวน 1กิโลกรัมหรือ 15-0-0 คลุกเคล้ากันแล้วหว่านลงดินใต้ทรงพุ่มห่างจากโคน 50-70 เซนติเมตร
ตัดแต่งกิ่ง ได้แก่ กิ่งแห้ง กิ่งน้ำค้าง กิ่งฉีกหัก กิ่งซ้อนทับ และกิ่งแซมในทรงพุ่ม
การกระตุ้นให้แตกใบอ่อน โดยการฉีดพ่น อาหารเสริมคาร์โบไฮเดรตดังนี้ กลูโคส 600 กรัมผสม ฮิวมิคแอซิด 20 มิลลิลิตรผสมปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุรอง/เสริมผสม อัตรา 60 กรัมผสมยาป้องกันเชื้อราในน้ำ 20 ลิตรผสมสารจับใบ ฉีดพ่น 1-2ครั้งเพื่อกระตุ้นให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น
หลังหว่านปุ๋ยเคมีตามชายพุ่ม ให้ใส่ปุ๋ย รอบๆชายพุ่มตก สูตร 30-0-0 หรือ 15-0-0 อัตรา 1-1.5 กิโลกรัม/ต้นเพื่อให้รากทุเรียนที่ชายพุ่มสามารถดูดเอาไปใช้ได้รวดเร็วและเต็มที่
ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยแล้ต้องรีบให้น้ำตามไปทันที ปุ๋ยจะไม่สูญเสีย ไม่ระเหิดหลังให้น้ำไปแล้วง 10-15 วันทุเรียนก็จะแตกใบอ่อน
การป้องกันกำจัดศัตรูทุเรียน แมลงศัตรูที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ หนอนหน้าแมวกัดกินใบอ่อน โรคที่สำคัญได้แก่ ราแอนแทรคโนส โรคใบติด ราไฟทอปธอร่า
การกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุด 2และ3 หลังใบอ่อนชุดแรกแก่เต็มที่อายุ 45-60 วันก็ทำการกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุดที่2เหมือนชุดแรก โดยการแตกใบอ่อนชุดที่ 3 ทำการกระตุ้นเหมือนชุดแรกและชุดที่ 2 ดังนี้ ให้ปุ๋ยเกล็ด 46-0-0 หรือ 30-20-10 หรือ 20-20-20 ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7-10 วันฉีดพ่นสารกระตุ้นการแตกใบอ่อน อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมอาหารเสริมที่มีแม็กนีเซี่ยมสูงอัตรา 300 มิลลิลิตร อาหารเสริมที่มีสังกะสีสูง อัตรา 150-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังจากนั้นใบอ่อนจะแตกภายใน 10-15 วันที่
ดูแลป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระยะใบอ่อน-ใบเพสลาดเช่นเดียวกัน)
หมั่นดูแลกำจัดวัชพืช

2 Likes

ใช้จุลินทรีย์ ปรับโครงสร้างดิน เติมยีสต์ ช่วยเป็นอาหารของจุลินทรีย์ไปด้วย

ขอบคุณมากๆครับน้าๆ

จะลองใช้ดูนะครับน้าๆ