ขาดธาตุอะไรครับ 2ปี
เป็นอาการของโรคใบจุด และ ใบติด เข้าทำลายพร้อมๆกัน เนื่องจากช่วงนี้อากาศมีความชื้นสูงมาก ฝนตกต่อเนื่อง การระบาดของโรคจะรุยแรงและรวดเร็ว
เนื่องจากต้นยังเล็กอยู่ถ้าสามารถตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกจากสวนก่อน แล้วค่อยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช จะทำให้การใช้สารฯมีประสิทธิภาพและเห็นผลเร็วขึ้น
โรคใบติด สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธฺภาพเช่น สารฯในกลุ่มรหัส 2 (ไอโพรไดโอน) กลุ่มรหัส 3 ( ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล ) กลุ่มรหัส 7 (คาบ๊อกซิน) กลุ่มรหัส 14 (เอทริไดอาโซล ควินโตซีน) และกลุ่มรหัส 20 (เพนไซคูรอน) เป็นต้น ) และ ผสมหรือสลับ ด้วยสารประเภทสัมผัสที่ออกฤทธิ์หลายจุด เช่น แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดโอกาสดื้อของเชื้อสาเหตุ
โรคใบจุด สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่นสาร กลุ่มรหัส 1( เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไธอะเบนดาโซล ไทโอฟาเนทเมทิล) สารกลุ่มรหัส 3 ( ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล เป็นต้น ) กลุ่มรหัส 6 ( ไอโซโพรไทโอเลน) กลุ่มรหัส 7 (เฉพาะ ฟลูโอไพแรม) และสารกลุ่มรหัส 11 ( อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น) และ ผสมหรือสลับ ด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสดื้อของเชื้อสาเหตุ
เนื่องจากมี ๒ โรคระบาดพร้อมกัน ดังนั้นควรเลือกกสารในกลุ่มรหัส ๓ เพราะสามารถควบคุมสาเหตุโรคได้ทั้ง ๒ ชนิด แต่ที่สำคัญต้องผสมสารประเภทสัมผัสด้วย
เอาคร่าวคร่าวขาดไนโตรเจนธาตุอื่นด้วยนะคับ ส่วนลักษณะใบเหมือนจะโดนเพลี้ยนเข้าทำลาย
ล่างขวาสุดมีอาการขาดโบรอนและสังกะสีร่วมด้วยคับ