มังคุดต้นแตกยางใหลใบไหม้เป็นจุดขอบใบไหม้สาเหตุเกิดจากอะไรรักษาอย่างไรครับ

มังคุดต้นแตกยางใหลใบไหม้เป็นจุดขอบใบไหม้สาเหตุเกิดจากอะไรรักษาอย่างไรครับ

5 Likes

อาการเหมือนโรคใบไหม้ แต่ไม่มั่นใจเรื่องต้นแตกเลย รอผู้รู้ครับผม

ไม่มั่นใจว่าต้นแตกเกิดจากเชื้อรารึป่าว

ภาพที่๑ เป็นอาการของโรคใบจุด ที่เกิดจากเชื้อรา จะเห็นกลุ่มของส่วนขยายพันธุ์สีดำ
ถ้าเป็นมากใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่น . กลุ่มรหัส 1( เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไธอะเบนดาโซล ไทโอฟาเนทเมทิล) สารกลุ่มรหัส 3 ( ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล เป็นต้น ) กลุ่มรหัส 6 ( ไอโซโพรไทโอเลน)กลุ่มรหัส 7 (เฉพาะฟลูโอไพแรม) และสารกลุ่มรหัส 11 ( อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น) และเพื่อป้องกันการดื้อของเชื้อต่อสารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรพ่นสลับหรือผสมกับสารประเภทสัมผัส เช่น แมนโคเซบ โพรพิเนป คลอโรทาโลนิล เป็นต้น
ภาพที่ ๒ ต้นแตกยางไหล เป็นอาการที่ที่ยังไม่เคยมีรายงานไว้เลย จึงนำอาการเปลือกแตกยางไหลของมะม่วงมาให้เปรียบเทียบดู แต่การแตกของมังคุดที่ส่งมารอยแตกจะใหญ่กว่าของมะม่วงมาก และไม่ได้บอกว่ากิ่งแห้งหรือไม่

อาการต้นแตกยางไหลของมะม่วง
สาเหตุ เกิดจากมะม่วงได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้งและมีเชื้อรา Botryodiplodia sp. เข้าทำลายซ้ำเติม

ลักษณะอาการ กิ่งและใบแห้งติดต้น ทั้งต้น บริเวณโคนกิ่งที่มีใบแห้งนั้นมีแผลแตกและมีน้ำยางสีครีมหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีส้มอ่อน ออกจากรอยแผลนั้น เมื่อเฉือนเปลือกที่รอยแผลออกดูจะพบอาการเน่าของเนื้อเปลือก อาการแผลเน่ายางไหลนี้ จะพบได้ทั้งรอบๆโคนต้น หรือตามกิ่งทั้งขนาดเล็กและกิ่งใหญ่ ในกรณีที่อาการรุนแรงมากๆ แผลใต้เปลือกของลำต้น ทำให้ต้นแสดงอาการใบแห้งทั้งต้น และตายในที่สุด
แนวทางการจัดการ ในมะม่วง
๑, อย่าปล่อยให้ต้นมะม่วงอ่อนแอ โดยเฉพาะในช่วงแล้งจัด ควรมีการให้น้ำที่เพียงพอ และมีการคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น
๒. เมื่อพบอาการโรค ควรตัดกิ่งบริเวณที่เป็นโรคออก (ในมังคุดจะทำได้หรือไม่ เพราะลักษณะทรงพุ่มต่างกัน)
๓.ถ้าเกิดโรคที่บริเวณโคนต้น หรือกิ่งใหญ่ๆ ถากเปลือกบริเวณที่แสดงอาการยางไหลออกให้หมด
๔. บริเวณรอยตัด หรือ บริเวณที่ถากแผลออกแล้ว ทารอยตัดและแผลด้วย ด้วยปูนแดง หรือ สารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มคอปเปอร์ แล้วรีบให้น้ำให้เพียงพอ ถ้าเป็นได้ให้ใส่ปุ๋ยคอกให้รอบโคนต้น
๕.เมื่อมะม่วงเริ่มแตกใบอ่อ่นพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช (กลุ่มเดียวกับข้อ ๑)และ แมลง เพื่อรักษาใบอ่อนให้เจริญเติบโต สร้างอาหารมาเลี้ยงต้นให้แข็งแรงต่อไป

ภาพที่๓. อาการขอบใบแห้งลักษณะนี้ ไม่ได้เกิดจากการทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช เป็นลักษณะการผิดปกติจากการให้ปุ๋ยหรือสารบางอย่าง แต่หลังจากนั้นถ้าในสวนมีเชื้อสาเหตุโรคบางชนิดที่ชอบขึ้นบนเนื้อเยื่อพืชที่แห้งแล้ว มาเข้าซ้ำเติม จะสังเกตุเห็นจุดดำนูนเล็กๆเกิดบนเนื้อเยื่อที่แห้งนั้น

1 Like

ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ

ขอบคุณครับผม