ผมปลูกพุดซ้อนเพื่อตัดใบขาย แต่ทั้งต้นเก่าและต้นปลูกใหม่ใบเหี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ และส่วนใหญ่จะตาย เคยราดด้วยยาฆ่าเชื้อรา

ผมปลูกพุดซ้อนเพื่อตัดใบขาย​ แต่ทั้งต้นเก่าและต้นปลูกใหม่ใบเหี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ​ และส่วนใหญ่จะตาย​ เคยราดด้วยยาฆ่าเชื้อราเมธาแลกซิล บางต้นก็รอด​ บางต้นก็ไม่รอด​ เกิดจากสาเหตุอะไรครับและมีวิธีแก้ไขอย่างไร IMG_20210616_104255.jpg IMG_20210616_104215.jpg

9 Likes

ต้องใช้สแรมดำคลุมบย

หมายความว่าแดดจัดเกินไปหรือครับ​ แต่เหี่ยวแค่บางต้น​ บางทีก็ลามไปต้นข้างๆ

ลองแซะดูระบบราก ของต้นที่มีอาการใบเหลือง

คือมันจะเริ่มจากอาการใบเหลืองแล้วก็เหี่ยว​ และแห้งตาย

รากก็เป็นสีดำๆ​ แบบในรูปครับ​ แต่ดูเหมือนจะไม่เน่า​ พอเป็นต้นนึงแล้วก็มักจะลามต่อไปยังต้นข้างเคียง

รากดำ น่าจะเป็นอาการผิดปกติ เป้นลักษณะที่รากถูกเชื้อราในดินเข้าทำลาย ถ้าเป็นเชื้อราบางชนิดจะสร้างสารพิษไปอุดตันที่ท่อน้ำทำให้ น้ำไม่สามารถเคลื่อนที่ขึ้นไปส่วนบนของพืชได้ ส่งผลให้พืชเหี่ยว และใบล่างเริ่มเหลืองก่อน
ลองใช้มีดปาดตามยาวที่บริเวณโคนต้น ระดับเนื้อดิน ดูว่าท่อน้ำ(ส่วนที่อยู่ติดผิวของลำต้น) เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือไม่

1 Like

ครับ​ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะลองดูครับ​ ผมก็คาดว่าน่าจะเกิดจากเชื้อราในดิน​ แล้วควรใช้สารอะไรกำจัดเชื้อรานี้หรือเหล่านี้ครับ

ถ้าเป็นเชื้อราในดิน
๑. ถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง
๒. หลุมที่ถอนต้นไปแล้ว ใส่ปูนขาวทิ้งไว้เพื่อยับยั้งการพัฒนาของเชื้อ
๓. ต้นที่ยังไม่มีอาการ หว่านรอบโคนด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่าผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและรำข้าวอัตรา ๑: ๕๐-๑๐๐:๔-๕ กก.

ขอบคุณครับ​ ผมถอนต้นที่เหี่ยวตายมาขูดเปลือกดู​ ลำต้นก็มีทั้งส่วนที่เป็นสีเขียวและสีน้ำตาลครับ

ใช้มีดปาด ตามแนวยาวลำต้น บริเวณเหนือระดับดิน ดูที่ท่อน้ำ ถ้าเป็นสีน้ำตาลแดง น่าจะเป็นเชื้อรา ฟิวซาเรี่ยม

หลุมที่ถอนต้นไปแล้วใส่ปูนขาว​ ต้องทิ้งไว้อย่างน้อยกี่วันครับ​ จึงจะปลูกต้นใหม่ได้

๑. รอสัก ๓-๕ วัน อย่าลืมรดน้ำในหลุมบ้าง
๒. เมื่อย้ายปลูกต้นใหม่แล้ว หว่านรอบโคนด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่าผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและรำข้าวอัตรา ๑: ๕๐-๑๐๐:๔-๕ กก. ทันที

๑. อาการเหี่ยวลักษณะนี้ ไม่ควรนำเมตาเลกซิลมาใช้ เพราะไม่ใช่อาการของเชื้อราชั้นต่ำ
๒. สารที่สามารถกำจัดเชื้อราในดิน แต่ไม่ใช่เชื้อราชั้นต่ำเช่น กลุ่มรหัส 7 (คาบ๊อกซิน) กลุ่มรหัส 14 (เอทริไดอาโซล ควินโตซีน) เป็นต้น
๓. แต่ถ้าหากพืชแสดงอาการเหี่ยวแล้วการใช้สารก็อาจจะไม่ได้ผล เพราะเชื้อได้สร้างสารพิษเข้าไปอุดท่อน้ำแล้ว
๔. การปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน การใช้ปุ๋ยหมัก /ปุ๋ยคอกในดินเพื่อเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ตามธรรมชาติ และ การหว่านไตรโคเดอร์ม่า เพื่อเพิ่มเชื้อจุลินทรีญืปฏิปักษ์ที่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อสาเหตุ จะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวได้

ขอบคุณมากครับ