ทุเรียนหลังจากทำใบแรกได้แล้ว ใช้ตัวไหนสะสมอาหารเพื่อทำใบสองครับ มือใหม่หัดทำเลยครับ
ปุ๋ยสูตรเสมอ แล้วพ่นสังกะสีกับแมงกานีสเสริมครับ
ทุเรียนหลังจากทำใบแรกได้แล้ว ใช้ตัวไหนสะสมอาหารเพื่อทำใบสองครับ มือใหม่หัดทำเลยครับ
การทำใบทุเรียน ใบ2และ3ลองศึกษาจากแนวทางข้างล่างนี้ข้อ8) และการจัดการสนับสนุนการออกดอก ข้อ 2.
ขบวนการทำใบทุเรียน1-3เพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพ
1. ฟื้นฟูราก กระตุ้นการแตกใบอ่อนชุดที่ 1
1.)ทำความสะอาดโคนทุเรียน โดยคราดเอาใบแห้งออก ถอนและกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออก
2).พ่นฮิวมิคลงดินฟื้นฟูราก โดยใส่สารฮิวมิคแอซิด อัตรา 1000 มิลลิลิตรผสมปุ๋ย 30-20-10 อัตรา 300-500 กรัม ในน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นลงดินด้วยเครื่องฉีดแรงดันสูง ทุกๆ 7 วันจำนวน 3 ครั้ง
3)ตัดแต่งกิ่ง ได้แก่ กิ่งแห้ง กิ่งน้ำค้าง กิ่งฉีกหัก กิ่งซ้อนทับ และกิ่งแซมในทรงพุ่ม
4).ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15หรือ 16-16-16 อัตรา 3-4 กิโลกรัม/ต้นผสมกับ 30-0-0จำนวน 1กิโลกรัมหรือ 15-0-0 คลุกเคล้ากันแล้วหว่านลงดินใต้ทรงพุ่มห่างจากโคน 50-70 เซนติเมตร
5)การกระตุ้นให้แตกใบอ่อน โดยการฉีดพ่น อาหารเสริมคาร์โบไฮเดรตดังนี้ กลูโคส 60 กรัมผสม ฮิวมิคแอซิด 20 มิลลิลิตรผสมปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุรองผสม อัตรา 60 กรัมผสมยาป้องกันเชื้อราในน้ำ 20 ลิตรผสมสารจับใบ ฉีดพ่น 1-2ครั้งเพื่อกระตุ้นให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น
6)หลังหว่านปุ๋ยเคมีตามข้อ4 ให้ใส่ปุ๋ย รอบๆชายพุ่มตก สูตร 30-0-0 หรือ 15-0-0 อัตรา 1-1.5 กิโลกรัม/ต้นเพื่อให้รากทุเรียนสามารถดูดเอาไปใช้ได้เต็มที่
- ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยแล้ต้องรีบให้น้ำตามไปทันที ปุ๋ยจะไม่สูญเสีย ไม่ระเหิดหลังให้น้ำไปแล้วง 10-15 วันทุเรียนก็จะแตกใบอ่อน
-
จากนี้ไปอีกประมาณ45-60 วันใบก็จะแก่เต็มที่ก็สามารถกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุดที่ 2 ต่อไป
7)การป้องกันกำจัดศัตรูทุเรียน แมลงศัตรูที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ หนอนหน้าแมวกัดกินใบอ่อน โรคที่สำคัญได้แก่ ราแอนแทรคโนส โรคใบติด ราไฟทอปธอร่า
8)การกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุด 2และ3 หลังใบอ่อนชุดแรกแก่เต็มที่อายุ 45-60 วันก็ทำการกระตุ้นให้แตกใบอ่อนชุดที่2เหมือนชุดแรก โดยการแตกใบอ่อนชุดที่ 3 ทำการกระตุ้นเหมือนชุดแรกและชุดที่ 2 ดังนี้ ให้ปุ๋ยเกล็ด 46-0-0 หรือ 30-20-10 หรือ 20-20-20 ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7-10 วันฉีดพ่นสารกระตุ้นการแตกใบอ่อนเช่น นูรโปร(กรดอะมิโน) อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ผสมอาหารเสริมที่มีแม็กนีเซี่ยมสูงเช่นเอมอนต์อัตรา 300 มิลลิลิตร และ โคแม็ค อาหารเสริมที่มีสังกะสีสูง อัตรา 150-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังจากนั้นใบอ่อนจะแตกภายใน 10-15 วัน หลังใบเพสลาดก็เตรียมการออดอก
2.การจัดการเพื่อสนับสนุนการออกดอก หลังทำใบอ่อนชุดที่3ไปแล้วจะต้องรีบใส่ปุ๋ยเพื่อสะสมตาดอกทันที
1)ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 หรือ9-24-24 อัตราเป็นกิโลกรัม=1/2 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม(เมตร)
2)หลังให้ปุ๋ยทางดินแล้ว 2 สัปดาห์ ให้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-52-17,0-42-56 หรือ 9-27-34อัตรา 500-1000 กรัมผสมธาตุอาหารรองเช่น แคลเซี่ยม โบรอน แม็กนีเซี่ยม สังกะสี เหล็กและแมงกานีส อัตราตามคำแนะนำ เพราะทุเรียนต้องการมากในช่วงการแตกตาเพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของดอก
3)การตัดแต่งกิ่งโดย ตัดแต่งกิ่งกอตะไคร้ กิ่งแขนง กิ่งน้ำค้าง เพื่อลดการแก่งแย่อาหารขณะออกดอก และการเลี้ยงผลใหม่
4)ทำความสะอาด โคนต้นบริเวณใต้ทรงพุ่ม โดยคราดเอาใบแห้ง กิ่งแห้งและกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพื่อให้หน้าดินแห้ง ในสวนทุเรียนที่อายุน้อยควรโยงกิ่งที่ปกดินให้สูงขึ้นเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก หน้าดินแห้งเร็วขึ้น
5)งดการให้น้ำเพื่อให้ทุเรียนเกิดความเครียด นำไปสู่การพักตัวเพื่อเตรียมการออกดอก
6)การตรวจดูความพร้อมของต้นทุเรียนก่อนทำการกระตุ้นออกดอก
บีบใบล่างสุดของช่อใบที่แตกออกมาชุดสุดท้าย โดยกำมือตามความยาวของใบให้แน่น ถ้าใบทุเรียนแก่จะแข็งกรอบมีเสียงดังกรอบแกรบ แสดงว่าทุเรียนอยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีตาดอกพร้อมที่จะทำการเปิดตาดอกได้แล้ว