ใบจุดขอบใบไหม้ทุเรียน จัดการและป้องกันได้ แค่อ่านโพสต์จากเพื่อนเกษตรกรโพสต์นี้!

ใบจุดขอบใบไหม้ทุเรียน จัดการและป้องกันได้ แค่อ่านโพสต์จากเพื่อนเกษตรกรโพสต์นี้!

หนึ่งในโรคสำคัญที่เกษตรกรสวนทุเรียนต้องเคยพบอยู่บ่อยๆ คือโรคใบจุดขอบใบไหม้ของทุเรียน ที่จะทำให้เกิดอาการไหม้บนใบอย่างชัดเจน เช่นที่คุณ “Jumping Torsak” เกษตรกรสวนทุเรียนในชุมชนได้พบ จึงถ่ายภาพอาการใบไหม้อย่างชัดเจนและสอบถามใน Kaset Go
.
ทางด้าน “อาจารย์อรพรรณ์ วิเศษสังข์” ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชประจำ Kaset Go ได้กล่าวชมถึงความชัดเจนของรูปภาพที่ถ่ายมา และได้ยืนยันว่าในภาพเป็นอาการใบจุดขอบใบไหม้จริง ซึ่งมีเหตุผลจากเชื้อรา โดยเชื้อจะพัฒนาเป็นวงหรือเป็นชั้นๆ ออกไปจากจุดที่เริ่มการเข้าทำลายบริเวณปลายใบ และบริเวณเนื้อใบที่แห้งจะสร้างส่วนขยายพันธุ์ เป็นเม็ดสีดำกลมเล็กๆ
.
ทางด้านวิธีการจัดการ อาจารย์อรพรรณ์ได้แนะนำดังนี้

  1. ตัดแต่งกิ่ง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค
  2. กำจัดเศษซากพืชออกจากสวน เพราะจะเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อรา
  3. ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
  • กลุ่มรหัส 1 : เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไธอะเบนดาโซล ไทโอฟาเนทเมทิล
  • กลุ่มรหัส 3 : ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล เป็นต้น
  • กลุ่มรหัส 6 : ไอโซโพรไทโอเลน
  • กลุ่มรหัส 7 : เฉพาะ ฟลูโอไพแรม
  • กลุ่มรหัส 11 : อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น
    และควรผสมด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสดื้อของเชื้อสาเหตุ โดยควรพ่น 2 ครั้ง ห่างกันทุก 7-10 วัน แล้วหยุดรอดูอาการบนใบใหม่
    .
    สาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อรา อาจารย์อรพรรณ์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เชื้อจะสามารถเข้าทำลายใบที่ยังอ่อนอยู่ ส่วนมากมักจะเป็นที่ปลายใบและขอบใบ รวมไปถึงใบที่ขาดธาตุอาหารหรือแล้งจัด จะทำให้เกิดแผลบนใบจนเชื้อเข้าทำลายได้ และเชื้อนี้ยังมีอยู่ในเศษซากพืชและวัชพืชอีกด้วย
    .
    รู้แบบนี้แล้ว ก็หมั่นดูแลสวนให้ดี อย่าให้เกิดการแล้งจัดหรือขาดธาตุอาหารเกินไปจนใบเสียหาย จนเสี่ยงต่อการเข้าทำลายของเชื้อรากันนะครับ
    .
    อ่านโพสต์ของคุณ Jumping Torsak ได้ที่นี่ เชื้อรา ใช่ไหมครับ ยาตัวไหนดีครับขอคำแนะนำครับ
    .
    อ่านโพสต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    ฆ่าหญ้าคาแบบตายเรียบ ไม่ตกค้าง! อ่านโพสต์จากเพื่อนเกษตรกรได้เลยที่นี่! ฆ่าหญ้าคาแบบตายเรียบ ไม่ตกค้าง! อ่านโพสต์จากเพื่อนเกษตรกรได้เลยที่นี่!
    ใบแห้ง อาการยอดฮิตในสวนมะพร้าว! อ่านวิธีแก้ไขจากโพสต์เพื่อนเกษตรกรเลย! ใบแห้ง อาการยอดฮิตในสวนมะพร้าว! อ่านวิธีแก้ไขจากโพสต์เพื่อนเกษตรกรเลย!
    กลับบ้านมาทำเกษตร ทำอย่างไรให้เลี้ยงชีพได้? อ่านโพสต์จากเพื่อนเกษตรกรเลย! กลับบ้านมาทำเกษตร ทำอย่างไรให้เลี้ยงชีพได้? อ่านโพสต์จากเพื่อนเกษตรกรเลย!
28 Likes

ให้ความรู้ดีมากครับ

ให้ความรู้ตรงประเด็นมากค่ะ

กลุ่มรหัส1,2,3 คืออะไรคะ

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้

1 Like

Overalltime24hrs.

ขอบคุณครับได้ความรู้เยอะเลยครับ

เป็นการแบ่งกลุ่มของสารป้องกันกำจัดโรคพืชตามวิธีการออกฤทธิ์ (Mode of action) ของสารต่อเชื้อรา ตามระบบของคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการดื้อต่อสารป้องกันกำจัดโรคพืช
สามารถดูรายละเอียดได้ใน FRAC code list 2021
โดยสารที่มีรหัสเดียวกัน ถึงแม้จะต่างชื่อสามัญกัน จะทำลายเชื้อราที่จุดเดียวกัน ดังนั้นมนการป้องกันการดื้อของเชื้อราต่อสารฯ จึงต้องใช้สารต่างกลุ่มรหัสกัน ไม่ใช่พิจารณาว่าต่างชื่อการค้าเพียงอย่างเดียวตามที่ปฏิบัติกันมาก่อนนี้