มีใครรู้จักสารราดมะม่วงแก้วขมิ้นบ้างครับแนะนำบ้างครับ พึ่งหัดทำปีแรกครับ
มีใครรู้จักสารราดมะม่วงแก้วขมิ้นบ้างครับแนะนำบ้างครับ พึ่งหัดทำปีแรกครับ
วิธีการราดสารมะม่วงแก้วขมิ้น
1. การเตรียมความพร้อมของต้น
1.1 ทำการตัดแต่งกิ่ง
ดำเนินการตัดแต่งกิ่งทันทีหลังเก็บผลเสร็จโดยตัดกิ่งแห้ง กิ่งถูกโรค และแมลงเข้าทำลาย กิ่งแซมในทรงพุ่ม กิ่งกระโดง กิ่งซ้อนทับ กิ่งด้านล่างที่ติดพื้นดิน กิ่งหักหรือฉีกขาด
1.2 การใส่ปุ๋ย
1.2.1 ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะช่วยปรับสภาพและโครงสร้างของดินโดยพรวนดินให้ปุ๋ยแทรกตัวอยู่ในช่องว่างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย ปุ๋ยคอก ได้แก่ ขี้ค้างคาว ขี้ไก่แกลบ ขี้หมู ขี้วัว ขี้แพะ ขี้ม้า อัตรา 20 – 40 กิโลกรัมต่อต้นแล้วอายุต้น (ปุ๋ยควรผ่านการหมักที่สมบูรณ์แล้ว)
1.2.2 ปุ๋ยเคมี
การปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ ควรทำการวิเคราะห์ดินก่อนเพื่อจะได้ทำการปรับสภาพดิน และสามารถเลือกชนิดปุ๋ยและปริมาณตามที่มะม่วงต้องการ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กับการผลิตมังคุดในฤดูที่ผ่านมา ได้แก่ สูตร 15-15-15หรือ 16-16-16 หรือ 17-17-17+15-0-0+26.5CaOหรือ 25-7-7ปริมาณกิโลกรัม)เท่ากับ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม(เมตร)เสริมด้วย แคลเซี่ยม-โบรอน+สังกะสี แม็กนีเซี่ยม
1.2.3 ฉีดพ่นด้วยสารไทโอยูเรีย 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตรเพื่อกระตุ้นให้มะม่วงแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งทรงพุ่ม สะดวกต่อการบริหารจัดการ
1.2.4 หลังใส่ปุ๋ยและรดน้ำและพ่นไทโอยูเรียไปแล้ว ประมาณ 7-10 วันมะม่วงก็จะแตกใบอ่อน
1.3 การดูแลป้องกันกำจัดศัตรูพืช
หลังที่มะม่วงเริ่มแตกใบอ่อนแล้ว มักจะมีศัตรูพืชเข้ามาทำลาย ทั้งโรคและแมลงในระยะยอดอ่อนใบคลี่ ใบเพสลาด เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น ด้วงตัดใบ แมลงค่อมทอง โรคแอนแทรคโนส
2.การเตรียมความพร้อมเพื่อการออกดอกนอกฤดู
หลังจากเตรียมความพร้อมต้นมะม่วงมีการแตกใบอ่อนมาแล้ว 2 ครั้งเพื่อให้มะม่วงสะสมอาหารเต็มที่ โดยการแตกใบอ่อนครั้งสุดท้ายนี้ต้องกระตุ้นให้แตกใบอ่อนพร้อมกัน และใบอ่อนเข้าระยะใบเพสลาด หรือใบพวงเริ่มเตรียมทำการราดสารพาโคลบิวทราโซลดังนี้
2.1 ทำความสะอาดใต้ทรงพุ่ม
โดยการกวาดใบแห้ง กิ่งมะม่วง และกำจัดวัชพืชออกจากบริเวณโคนต้น ให้สะอาด
2.2 คำนวณสารพาโคลบิวทราโซล
2)สำหรับมะม่วงพันธุ์หนักแก้วขมิ้น ใช้อัตรา 1:15
(เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ใช้สาร ปริมาณ 15 กรัม 2เมตร ใช้สาร 30 กรัม)
2.3 การราดสารพาโคลบิวทราโซลนำสารพาโคลบิวทราโซลที่ชั่งแล้วไปผสมในน้ำสะอาด ในปริมาณ 2 ลิตรแล้วบริเวณโคนต้นจนหมด กรณีแปลงใหญ่ ให้ผสมสารพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1:15 (น้ำ1 ลิตร ใส่สาร 15 กรัม หรือ 3 กิโลกรัม :น้ำ 200 ลิตร)
2.4 การปฏิบัติหลังการราดสารพาโคลบิวทราโซล
1)ให้น้ำสม่ำเสมอต่อเนื่อง ต่อไปอีกประมาณ 7 -10 วันเพื่อสารพาโคลบิวทราโซลแผ่กระจายทั่วทั้งทรงพุ่ม เพื่อให้รากมะม่วงดูดขึ้นไปสู่เรือนยอดเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโต การแตกใบอ่อน
- หลังจากนั้น ใส่ปุ๋ยเพื่อสะสมตาดอก ทางดินสูตร 8-24-24 ,9-24-24 หรือ 12-24-12+แคลเซี่ยม-โบรอน+สังกะสี และให้น้ำอย่างต่อเนื่อง กรณีนอกเขตชลประทาน ไม่มีน้ำให้ใช้ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 0-52-34+แคลเซี่ยม-โบรอน+สังกะสี ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน 3 ครั้ง
2.5 การกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก
หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล และให้ปุ๋ยสะสมตาดอกไปแล้วในระยะเวลา ที่เหมาะสมแล้วสำหรับพันธุ์ ส่วนมะม่วงพันธุ์หนัก ใช้เวลา ประมาณ60 วัน
1)ตรวจสอบความพร้อมของตายอด ว่าพร้อมจะกระตุ้นให้ออกดอกได้แล้วหรือยัง โดยตายอดจะอั้น โปน บวมเป่ง ใบกลางหรือลู่ลงเข้าหากิ่ง เด็ดมาขยี้ดูเนื้อใบจะกรอบ บางยอดอาจพบน้ำยางไหลออกมาเล็กน้อย แสดงว่าตายอดพร้อมที่จะทำการกระตุ้นให้ออกดอกแล้ว
2)ตรวจสอบ โรคแมลงในบริเวณทรงพุ่ม ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ รวมทั้งร่องการทำลายของ ราแอนแทรคโนส ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะเข้ามาทำลาย ช่อดอกอ่อนและผลอ่อน ภายหลัง จึงจำเป็นจะต้องฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดเสียก่อน หรืออาจทำการฉีดพ่นไปพร้อมการกระตุ้นแตกตาก็ได้
3)ผสมไทโอยูเรียอัตราส่วน 100 กรัม/น้ำ 20ลิตร(0.5%)หรือ โปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 500 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร(2.5%)ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มจนชุ่ม หลังจากนั้นประมาณ 7-10 วันมะม่วงก็จะแทงช่อออกมาให้เห็น
2.6 การปฏิบัติดูแลรักษาดอกและผลมะม่วง
1)ระยะช่อยืด หลังมะม่วงแทงช่อแล้วจะพัฒนายืดยาวสุดภายใน 14-21 วัน ในช่วงนี้ควรระวัง แมลงที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น และราแอนแทรคโนส จะเข้าทำลายช่อดอกอ่อน อาจทำให้ช่อแห้งไม่ติดผล ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง 1-2 ครั้ง ขณะเดียวกันก็ควรผสมแคลเซี่ยมและโบรอนฉีดพ่นไปพร้อมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชคราวเดียวกันเลย - ระยะดอกบาน
ดอกมะม่วงจะบานจากโคนช่อใช้เวลา 22-26 วัน.ในระยะนี้ควรงดพ่นสารเคมีใดๆทั้งสิ้นเพื่อให้แมลงเข้ามาผสมเกสร กรณีแมลงผึ้ง ชันโรง หรือแมลงวันมีน้อยอาจต้องหารังผึ้ง หรือชันโรงมาตั้งเพื่อช่วยผสมเกสร - ระยะผลอ่อน-ผลแก่
3.1) ให้ปุ๋ยขยายขนาด หลังมะม่วงผสมสมบูรณ์แล้วดอกเริ่มร่วง ผลอ่อนเริ่มขยายขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ใส่ปุ๋ยขยายขนาด สูตร 16-16-16 +15-0-0+26.5CaOทางดิน หรือพ่นทางใบ 20-20-20+TE ทุกๆ 10วัน 3 ครั้ง
3.2) ให้น้ำสม่ำเสมอค่อยๆเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการทำให้ผลขยาย
3.3) ทำการปลิดผลด้อยคุณภาพออกจำหน่ายเป็นมะม่วงยำหรือมะม่วงน้ำปลาหวาน ในระยะ 60 วัน ขณะเดียวกันก็ทำการห่อผลไปเลย
3.4)การห่อผลควรทำในช่วงนี้ ห่อผลมะม่วงที่มีคุณภาพดี1ที่อายุ 60 วันโดยชุบยาป้องกันกำจัดโรคราแอนแทรคโนส และ เพลี้ยแป้ง ให้แห้งก่อนแล้วจึงทำการห่อผล
3.5)หลังจากทำการห่อผลเสร็จแล้วประมาณ 70 วัน ก็เริ่มให้ปุ๋ยพัฒนาคุณภาพผล สูตร 13-13-21หรือ 12-12-17+ 2 Mg +แคลเซี่ยม-โบรอน+สังกะสี หากไม่สะดวกจะใช้วิธีพ่นด้วย 0-0-60 +แคลเซี่ยม-โบรอน+สังกะสี ทุก10 วัน ประมาณ 2 ครั้ง
3.6) การเก็บเกี่ยว มะม่วงที่มีคุณภาพ อายุจากดอกบาน –ผลแก่ 90-110 วันยกเว้นมะม่วงสำหรับรับประทานดิบ ตามที่ผู้บริโภคหรือตลาดต้องการดังดัชนีเก็บเกี่ยวมะม่วง
1ตัดแต่งกิ่ง
แตกใบอ่อน**
**
ราดสาร
ออกกช่อ
ขอบคุณครับ