โรคราหน้าฝนที่ควรรู้ใน 5 พืชหลัก รู้ทางแก้ไว้ยังไงก็ต้องเจอ! ตอน โรคราในลำไย
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในลำไย หรือ “โรคราในลำไย” ที่พบบ่อยมีทั้งหมด 2 โรคด้วยกัน ได้แก่ โรคใบจุดดำ หรือใบจุดลำไย และโรคราน้ำฝนในลำไย มาดูสาเหตุและวิธีป้องกันจากผู้เชี่ยวชาญด้านป้องกันและกำจัดโรคพืชใน Kaset Go คุณอรพรรณ วิเศษสังข์ ได้เลย!
.
- โรคใบจุดลำไย
- สาเหตุและอาการของโรคใบจุดลำไย
เกิดจากเชื้อรา โดยจะมีจุดแผลกลมสีน้ำตาลที่ใบลำไย จากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ
- วิธีแก้ไขโรคใบจุดลำไย
- หลังเก็บเกี่ยวลำไยให้ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง (โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโรคควรตัดแต่งออกให้หมด)
- นำไปทิ้งให้ห่างจากที่เพาะปลูก
- จากนั้นพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่น สารกลุ่มรหัส 3 และ 11
- ใช้ผสมหรือสลับด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้น
.
- โรคราน้ำฝนลำไย
- สาเหตุและอาการของโรคราน้ำฝนลำไย
เกิดจากเชื้อรา โดยจะเข้าทำลายใบอ่อน ใบเพสลาด และกิ่งอ่อนของต้นลำไย ทำให้มีอาการใบไหม้และยอดไหม้
- วิธีแก้ไขโรคราน้ำฝนลำไย
- พ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืชกลุ่มที่มีประสิทธิภาพต่อเชื้อราชั้นต่ำ เช่น สารเคมีในกลุ่มรหัส 4 21 22 27 28 40 43 32 และ P07(33) เป็นต้น
- ถ้าหากใช้สารเคมีดังกล่าวข้างต้นควรจะต้องผสมสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้น ไปด้วย (ช่วยลดการดื้อสารเคมี)
- กำจัดผลและใบที่เป็นโรคราน้ำฝนลำไยที่ร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินออกให้หมด
.
เพื่อนๆ เกษตรกรชาวสวนลำไยลองนำวิธีการป้องกันและแก้ไขโรคที่เกิดจากเชื้อราในลำไยเหล่านี้ไปใช้ดูนะครับ รับรองว่าได้ผลแน่นอนเพราะเป็นคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเลยครับ เพื่อนๆ คนไหนที่ลองนำไปใช้แล้วได้ผล หรืออยากเสนอเคล็ดลับในการกำจัดโรคราในลำไยของตนเองสามารถคอมเม้นใต้โพสต์นี้ได้เลยนะครับ
.
เพื่อนๆ เกษตรกรสามารถเข้าไปอ่านบทความโรคเหล่านี้ได้ที่คลังความรู้ลำไยใน Kaset Go หรือคลิกตามลิ้งค์นี้ได้เลย
โรคใบจุดลำไย โรคใบจุดลำไย (Black spot)
โรคราน้ำฝนลำไย โรคราน้ำฝนลำไย
บทความโรคราหน้าฝนในทุเรียน อ่านเลย! โรคราหน้าฝนที่ควรรู้ใน 5 พืช รู้ทางแก้ไว้ยังไงก็ต้องเจอ! ตอน โรคราในทุเรียน