ขอคำปรึกษาจากท่านผู้รู้ทุกท่านครับ คือต้นกล้วยที่สวนผมมีอาการเหี่ยวใหม้ ที่บริเวรเคลือกล้วย อยากทราบกล้วยเป็นโรคอะไร

ขอคำปรึกษาจากท่านผู้รู้ทุกท่านครับ
คือต้นกล้วยที่สวนผมมีอาการเหี่ยวใหม้ ที่บริเวร
เคลือกล้วย อยากทราบกล้วยเป็นโรคอะไร จะมีวิทีรักษา หรือจะแก้ไขอย่าง
ขอบคุณครับ

11 Likes

ไม่แน่ใจว่าตายพรายหรือเปล่า ช่วงนี้ดูเป็นตายพรายกันเยอะ

1 Like

ไม่รู้ว่าใส้ต้นกล้วยเน่าหรือเปล่า

1 Like

ที่บ้านต้องตัดต้นทิงคับ
รอออกชุดใหม่

1 Like

ของผมก็เป็นตามๆๆครับ/ขอความรู้ด้วยคน

1 Like

คงจะฟันธงว่าโรคตายพรายไม่ได้ เพราะ
๑. ไม่มีอาการเหี่ยวเหลืองที่ไบล่่างของต้น
๒. มีอาการแตกตามก้านของเครือก่อน แล้วอาจจะมีเชื้อราเข้าทำลายซ้ำเติม
๓. ถ้าจะพิสูจน์ว่าเป็นตายพรายหรือไม่ ต้องตัดตามขวาง ที่ราะดับคอดิน ดูที่กลางต้นมีรอยทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคตายพรายหรือไม่

กล้วยตายพราย 1

2 Likes

ขอบคุณครับ พรุ่งนี้ผมจะลองตัดต้นดู ผมก็ยังไม่เคยเจออาการแบบนี้ครับ ผลเป็นยังไง ผมจะถ่ายรูปมาให้ดูอีกครั้งครับ

1 Like

แล้ววิธีแก้โรคตายพราย/กลับเชื้รากินใบแก้ไขยังไงครับ/ใช้ยาอะไรรักษาครับ/ขอความรู้หน่อยครับ

1 Like

อยากจะรู้วิธีป้องกัน และแก้เมื่อเป็นแล้วเหมือนกัน ครับผม

ตัดต้นดูแล้วครับ ลำต้นเน่าใน อาการแบบนี้เรียกตายพรายหรือเปล่าครับ

,ลักษณะนี้ไม่ใช่ อาการเริ่มต้นของโรคตายพรายที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฟิวซาเรี่ยม เพราะเน่าจากแกนกลางต้นก่อน
ขอตั้งสมมุติฐานดังนี้
๑. อาการก้านเครือ มีรออยแตก อาจจะเป็นเพราะความไม่สมดุลย์ของน้ำ ธาตุอาหาร รวมทั้ง สภาพอากาศร้อน( ให้ไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้พืชอวบ เมื่อกระทุ้งน้ำ หรือฝนตก ทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อแตก๗ และเมื่อมีรอยแตกเชื้อราเข้าทำลายซ้ำเติม และเชื้อรานั้นจะสร้างสารพิษเคลื่อนที่ในต้นพืชไปตามระบบท่ออาหาร ส่งผลให้แกนกลางของต้นเน่า
๒. ถ้าสังเกตุดูจะเห็นลักษณะของรอยแผล ซึ่งอาจจะเป็นการทำลายของแมลงบางชนิด หลังจากนั้นน่าจะเป็นทางเข้าที่ทำให้เชื้อสาเหตุโรคพืช ทั้งแบคทีเรีย และเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติม ตามรอยที่ถูกแมลงทำลายนั้น

1 Like

แนวทางการจัดการโรคตายพราย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฟิวซาเรี่ยม
๑.ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค
๒.ห้ามขุดย้ายหน่อที่เป็นโรคไปปลูก
๓.ทำความสะอาดเครื่องมือ
๔.เมื่อขุดต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้ว ควรใส่ปูนขาว 1-2 กก./หลุม
๕. ต้นที่เหลือ ที่ไม่แสดงอาการหว่านรอบโคนด้วย ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่าผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและรำข้าวอัตรา ๑: ๕๐-๑๐๐:๔-๕ กก.
ถ้าจะปลูกกล้วยใหม่เพื่อลดปัญหาโรคตายพรายนี้
๑. หาหน่อกล้วยจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรคตายพราย
๒.ก่อนปลูกจุ่มหน่อกล้วยในสารฯป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มรหัส 1 ( เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไธอะเบนดาโซล ไทโอฟาเนทเมทิล)กลุ่มรหัส 7 (คาบ๊อกซิน) กลุ่มรหัส 14 (เอทริไดอาโซล ควินโตซีน)
๓.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
๔.เมื่อย้ายปลูกแล้ว หว่านรอบโคนด่้วย ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่าผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและรำข้าวอัตรา ๑: ๕๐-๑๐๐:๔-๕ กก.

1 Like

ขอบคุณมากๆครับท่าน