คำถามชวนคิด ทำไมชาวสวนถึงส่งออกมังคุดเองไม่ได้

คำถามชวนคิด ทำไมชาวสวนถึงส่งออกมังคุดเองไม่ได้

33 Likes

โอ้โห เรื่องนี้ จะเริ่มจากตรงไหนดีละ

ขั้นตอนมันหลายขั้นตอนครับ

555 จิงครับ

มันไม่ง่ายสำหรับเราเลยครับ อ่ะผมก็อปตัวอย่างมาตรฐานข้อนึงมาให้ดูครับ “ภาชนะบรรจุต้องมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ไม่มีกลิ่นและสิ่งแปลกปลอม สามารถป้องกันความเสียหายที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลมังคุดได้ วัสดุที่ใช้ภายในภาชนะบรรจุต้องสะอาด และมีคุณภาพ หากมีการใช้วัสดุโดยเฉพาะกระดาษหรือตราประทับที่มีข้อมูลทางการค้าต้องใช้หมึกพิมพ์หรือกาวที่ไม่เป็นพิษ” อันนี้แค่ข้อเดียวก็ยากเเล้วครับ

8 Likes

จริงครับ

จ้างแพคก็ไม่ใช่ถูกๆนะคะกี่โลละ7-14 บาทเลย

1 Like

จริงค่ะ ลองเปิดดูมาตรฐานส่งออก เปิดเสร็จก็นอนฝันเอา

1 Like

จริงครับเม้นบนแค่มาตรฐานนะ ไหนจะค่าขนส่ง ตู้นึงตั้งเท่าไหร่ ละปริมาณต้องให้ได้อย่างน้อย ๆ คือหนึ่งตู้ถึงจะคุ้ม

ผมถึงบอกว่ามันไม่ง่าย

เห็นด้วยครับเรื่องค่าขนส่ง

นอกจาก GAP GMP มันมีหลายอย่างมากที่ต้องขออนุญาต ไหนจะเรื่องคู่ค้าอีก ถ้าทุนไม่หนาพอคือจอดสนิทเลยนะ

แต่ก่อนผมคิดอยากส่งออกเองเหมือนกัน พอลองวางแผนจะทำจริงเลยรู้ว่ามันขั้นตอนมันเยอะกว่าที่คิดไว้เยอะมาก เลยผันตัวมาทำมังคุดของตัวเองให้เท่ามาตรฐานส่งออก หาตลาดเอง กำหนดราคาเอง แพคเอง ส่งเอง ขายในไทยเองนี่แหละครับ

3 Likes

สุดยอดเลยครับ

ผมขอทักไปขอคำปรึกษาบ้างได้ไหมครับ

ยินดีครับ

ดีครับ อยู่กับความเป็นจริง

ขอบคุณที่ทุกคนช่วยกันแชร์ครับ ผมเองก็ได้เห็นหลายมุมมองมากขึ้น

ครับผมว่าถ้าเราจะยังผู้ผลิตด้วยแล้วเป็นผู้ส่งออกด้วย
1.เอาเลือกการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว คงต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด และต้องได้มาตรฐาน GMP ผลผลิตต้องมาจากแหล่งผลิตรับรอง GAP ส่วน การกำหนดขนาด คุณภาพ การจัดเรียง บรรจุ ซึ่งจะอิง มาตรฐานของ มกษ2-2556 หรือเป็นไปตามข้อตกลงของคู่ค้า
2.การขนส่ง ไปทางเรือ อาจต้องจองระวางหากไม่มีระวาง มังคุดเรารอไม่ได้อาจเสียลูกค้า สินค้ามังคุดที่ต้นทาง
3.กลไกทางการค้า ขายฝากแบบจีนขายแล้วเก็บเงินที่หลัง ซึ๋งอาจไม่มั่นใจว่าจะถูกเบี้ยวหรือไม่ ผู้ส่งออกหลายรายประสบมาแล้ว หากเปิด LC ก็ดีหน่อย
4.ขบนวนการตรวจปล่อยสินค้านำเข้าของประเทศคู่ค้าเข้มงวดมากน้อยเพียงใด หากพบศัตรูพืชอาจจะถูกคืนสิค้าทั้งตู้ก็เป้นได้
5สำหรับส่ออกไปประเทศญี่ปุ่นต้องอบไอน้ำ ต้องจ้างเขาอบซึ่งมีค่าใช้จ่าย แลบรรจุ
6.ถ้าคิดจะทำส่งออกคงต้องทำต่อเนื่องมิฉะนั้นตลาดก็หดหายหมดความเชื่อถือจากคู่ค้า อีกทั้งที่ลงไปกับโรงเรือน เครื่องมืออุปกรณ์ ทำความสะอาด เครื่องคัดแยก และการป้องกำจัดโรคและแมลง
7.การแสวงหาตลาดใหม่และรักษาตลาดเก่า ต้องมีแผนการไว้ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจส่งออก
8.ปัจจัยเสี่ยงสถาวะ สงคราม ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก และโรคระบาด ตลอดจนนโยบายทางการเมืองของประเทศผู้นำเข้า
สรุปทำอะไรก็ได้แต่ต้องจัดการให้ดีมีคุณภาพ ประทับใจผู้ค้า ทั้งคุณภาพ การส่งมอบทันเวลา ความต่อเนื่อง เพื่อให้คู่ค้าสามารถวางแผนการขยายธุรกิจการตลาด มีการรับรองคุณภาพสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ยิ่งดี

นับตั้งแต่0แล้วเริ่มระบบใหม่ละทิ้งระบบเก่าเพื่อที่จะได้รับผลที่ได้มาต่อหลายๆๆๆอย่าง