ชาวสวนทุเรียน เวลาปลูกทุเรียนก็กลัวมันจะตาย ไม่โต พอต้นโตก็กลัวหนอนเจาะลำต้นทำให้ต้นตายอีก จู่ๆพอเข้าฤดูฝน ต้นทุเรียนที่ปลูก ทิ้งใบเป็นโรคโคนเน่า น้ำเยิ้ม เดี๋ยวโรคราสีชมพูเข้ากิ่ง อ้าวขอบใบแห้งมากวน ใบติด พอแตกใบใหม่ มีเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยจักจั่นฝอย ยังไม่พอ
พอติดผลก็นึกว่าจะดูแลผลให้ดีเผลอ ไม่ทันระวัง มีผีเสื้อแอบวางไข่ เป็นหนอนเจาะ เข้าทำลายผล
ประเภทที่1 หนอนเจาะกินจากเปลือกด้านนอกและไปกินเนื้อในแต่ไม่กินเมล็ด"เรียกหนอนชนิดนี้ว่า"หนอนเจาะผลทุเรียน" ผลที่ถูกทำลายสามารถคัดแยกออกได้ง่ายหลังจากเก็บผลแล้ว เพราะจะเห็นขี้หนอนเป็ยขุยด้านอกผล ดังรูป
ประเภทที่ 2 การทำลาย หนอนตัวอ่อนจะเจาะเข้าไปในผลลึกถึงเมล็ดและเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเมล็ดและจะออกมาหลังเก็บเกี่ยว เมื่อผลทุเรียนมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำลงมากๆ ตัวหนอนก็จะออกมา สำหรับการทำลายของหนอนประเภทนี้เวลาคัดแยกผลทุเรียนจะต้องดูอย่างละเอียด บางครั้งอาจไม่เห็นปากรูที่หนอนเข้า แผลอาจจะปิด หนอนตัวที่ว่านี้ เรียกว่า " หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน" หรือ
" หนอนใต้นั่นเอง"
แม่ ผีเสื้อเป็นผีเสื้อกลางคืน ทั้ง 2 ชนิด ชนิดแรกหนอนเจาะผล เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลางปีกเหลืองสดจุดปะดำ ส่วนชนิดที่ 2 หนอนเจาะเมล็ดเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลางปีกสีน้ำตาลเข้ม ลายแต้มขาว ช่วงระยะเวลาการเข้าทำลายตั้งแต่ผลอ่อน ประมาณ 2 เดือน ดังนั้นการป้องกันกำจัดจึงทำเหมือนกัน เช่น ใช้กับดักแสงไฟ ห่อผล ไว้ผลเดี่ยว หรือขั้นไม้แห้งระหว่างผลคู่ที่ชิดกัน หรือใช้ชนิดสารเคมีป้องกันกำจัดเหมือนกัน
- รูปหนอนเจาะทำลาย
2.หนอนเจาะเมล็ด /หหนอนใต้ แผลเป็นรูเล็กๆที่โคนหนาม