ช่วงหน้าฝนมักจะพบว่าพืชผักเป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียมากขึ้น และระบาดลุกลามไปทั้งแปลงผักอยางรวดเร็ว พอจะมีวิธีป้องกันให้พืชต้านทาน หรือรักษาอย่างไรบ้างครับ
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย จะพบในพืชผักหลายชนิด แต่ที่จะทำความเสียหายมาก คือโรคเน่าเละ
โดยปกติเชื้อสาเหตุอาศัยอยู่ในดินและเข้าทำลายพืชโดยผ่านทางบาดแผลต่าง ๆ เช่น แผลที่เกิดจากการเขตกรรม และจากการขาดธาตุอาหารรองบางชนิด เช่นการขาดธาตุแคลเซียม ทำให้เกิดอาการปลายใบไหม้ก่อน หรือแผลที่เกิดจากการขาดโบรอน ทำให้เกิดอาการไส้กลวง เป็นต้น โรคนี้มักพบระบาดในระยะที่พืชเข้าปลี ออกดอก หรือลงหัว การระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนชื้นโดยเฉพาะในฤดูฝน

การจัดการ
๑. การไถพรวน ตากดิน เพื่อลดปริมาณเชื้อในดิน
๒. การระมัดระวังการปฏิบัติในแปลง เพื่อลดการเกิดแผลกับพืช
๓. พ่นธาตุอาหารรองแคลเซี่ยมและโบรอน พ่นธาตุอาหารรองในระยะที่พืชเริ่ม ห่อหัว หรือ เริ่มสร้างดอก
๔. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วควรเก็บเศษพืชออกให้หมด เพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อสาเหตุของโรค
ขอบคุณครับ
พอมีตัวยาแนะนำมั้ยครับ หากจัดการตามนี้แล้วยังเอาโรคไม่อยู่
พืชอะไรค่ะ
ผักกาดขาวครับอาจารย์
อาการเน่าเละ ถ้าเกิดแล้ว ควบคุมได้ยากมาก
ในกรณีที่เกิดหลังจากการขาดแคลเซี่ยม ทำให้เกิดอาการขอบใบแห้ง ที่ใบบริเวณส่วนกลางต้น (ใบส่วนยอด) เป็นอาการที่พอจะสังเกตุเห็นได้ ถ้าเห็นอาการขอบใบแห้งก่อนที่เชื้อสาเหตุโรคเน่าเละเข้าทำลาย อาจจะพ่นสารกลุ่มคอปเปอร์ เพื่อควบคุมอาการแผลนั้นให้แห้ง และลดการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุได้บ้าง
แต่ถ้าเป็นอาการเน่าเละที่เกิดตามหลังอาการขาดโบรอน ที่เกิดจากอาการต้นกลวงภายในต้น ซึ่งจะเห็นเมื่อต้นเน่าเละแล้วการช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะปลูกผักกาดขาวปลี หรือ พืชอื่นๆในกลุ่มนี้ ทั้งกะหล่ำปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก และอื่นๆ ควรต้องปรับปรุงดินด้วยปูนขาวก่อนปลูก และ เมื่อพืชเริ่มเข้าวัยห่อหัว สังเกตุจากใบยอดเริ่มห่อเล็กน้อย ต้องพ่นธาตุอาหารรองแคลเซี่ยมผสมโบรอนทันที ต่อเนื่องกันอย่างน้อย ๒ ครั้ง ห่างกัน ๕- ๗ วัน โดยไม่ควรพ่นร่วมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการไปส่งเสริมพืชในการห่อหัว
ขอบคุณมากครับ