อยากถามผู้เ****วชาญว่าต้นทุเรียนที่เป็นท็อปแล้วรักษาดีขึ้นมันออกลูกทำไมลูกมันถึงสวยกว่าต้นปกติธรรมดาที่ไม่เป็นโรคคะ
๑. ไม่น่าจะเกี่ยวกับการรักษาโรคหาย
๒. สารป้องกันกำจัดโรคพืช กลุ่ม P07(33) ที่ใช้เพื่อควบคุมโรคนี้ เมื่อแตกตัวแล้วจะให้ ฟอสฟอรัส แอซิด และ/หรือ ฟอสฟอริก แอซิด ซึ่ง ฟอสฟอรัส นอกจากเพิ่มความต้านทานโรคให้กับพิชแล้ว ยังมีผลต่อการปรับปรุงการสร้างดอกและการผลิตเมล็ด พืชผลแก่เร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น เป็นต้น
ขอดูต้นหน่อยครับกอนและหลังรักษา
ต้นสมบูรณ์ ดีแล้ว ครับ ส่วนลูกจะสวยหรือไม่ต้องดูอีกระยะนะครับ ติดตามนะครับ
ขอบคุณทุกท่านน้ะค้ะที่มีคำตอบให้หนู
ยังต้องดูแลอาการแผลช้ำที่บริเวณง่ามกิ่งด้วย อย่าปล่อยให้ลุกลาม
สอบถามค่ะใช้ยาตัวไหนรักษาบ้างค่ะค่ะ😢
ครบรากเน่าโคนเน่าขุดบอมที่โคนแล้วเอาเมทาเร็กซิลครั้งละประมาณ 5 ช้อนใส่ฝักบัวราดในบอมที่ขุดที่โคนต้นเริ่มทำตั้งแต่มีอาการใบสลดค่ะ
แนวทางจัดการโรครากเน่าโคนเน่า
๑. ถากแผลที่มีอาการออกให้หมด ป้ายแผลด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราสำหรับราชั้นต่ำ* หรือ
๒. ฉีดเข้าต้นด้วย สารฟอสฟอนิก เอซิด หรือ ฟอสฟอรัส เอซิด
๓. พ่นส่วนบนต้นด้วย สารฯสำหรับเชื้อราชั้นต่ำ เช่น สารฯในกลุ่มรหัส 4 (เมตาแลกซิล) กลุ่มรหัส 21 (ไซยานามิด ) กลุ่มรหัส 22 (อีทาบ๊อกแซม) กลุ่มรหัส 27 (ไซม๊อกซานิล** ) กลุ่มรหัส 40 (ไดเมโทมอร์ฟ ไอโพรวาลิคาร์บ** วาลิฟินาเลท** แมนดิโพรพามิด**) กลุ่มรหัส 43 (ฟลูโอปิคลอไรด์** ) กลุ่มรหัส P07(33) (ฟอสอีทิล อลูมิเนียม ฟอสฟอนิก เอซิด ฟอสฟอรัส เอซิด) เป็นต้น ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก
** จะมีจำหน่ายในลักษณะของสารผสมกับสารประเภทสัมผัส
๔. หว่านรอบโคนด้วย เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ไตรโคเดอร์ม่า ผสม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และรำข้าว อัตรา ๑ : ๕๐-๑๐๐ : ๔-๕ กก.เพื่อควบคุมการพัฒนาของเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดิน
รอดูตอนลูกโตครับ