ขอสอบถามผู้รู้หน่อยครับ ถ้าจะปลูกลำไยให้ติดดอกทั้งปีควรทำแบบไหนครับ

ขอสอบถามผู้รู้หน่อยครับ ถ้าจะปลูกลำไยให้ติดดอกทั้งปีควรทำแบบไหนครับ

ต้องทำลำไยนอกฤดู

วิธีการผลิตลำไยนอกฤดู
1. การเตรียมความพร้อมของต้น
1.1 ทำการตัดแต่งกิ่ง
ดำเนินการตัดแต่งกิ่งทันทีหลังเก็บผลเสร็จโดยตัดกิ่งยอดกลางทรงพุ่มด้านบน 2-3 เพื่อเปิดใจกลางทรงพุ่ม แล้วตัดกิ่งแห้ง กิ่งถูกโรค และแมลงเข้าทำลาย กิ่งแซมในทรงพุ่ม กิ่งกระโดง กิ่งซ้อนทับ กิ่งด้านล่างที่ติดพื้นดิน กิ่งหักหรือฉีกขาด
1.2 การใส่ปุ๋ย
1.2.1 ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะช่วยปรับสภาพและโครงสร้างของดินโดยพรวนดินให้ปุ๋ยแทรกตัวอยู่ในช่องว่างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย ปุ๋ยคอก ได้แก่ ขี้ค้างคาว ขี้ไก่แกลบ ขี้หมู ขี้วัว ขี้แพะ ขี้ม้า อัตรา 20 – 30 กิโลกรัมต่อต้นแล้วอายุต้น (ปุ๋ยควรผ่านการหมักที่สมบูรณ์แล้ว)
1.2.2 ปุ๋ยเคมี ตามแนวทางของอาจารย์ พาวิน มะโนชัย (N:P:K) 4:1:3 โดยใช้ปุ๋ยผสมดังนี้สูตร 46-0-0 ผสม 15-15-15 และ 0-0-60 ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ตามสัดส่วนที่กำหนด หรือ 25-7-7 อัตรา 500 กรัมต่อ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร หรือใส่ปุ๋ยคอกผสมผสมปุ๋ยเคมี 21-0-0 อัตราส่วย 10:1 ปริมาณ 2-3 กิโลกรัม/ต้น หรือปุ๋ยเคมี 15-15-15หรือ 20-0-0 ปริมาณ 2-3 กิโลกรัม/ต้น
1.2.3 กรณีต้นลำไยทรุดโทรมควรฉีดพ่นด้วยอาหารเสริมประเภทคาร์โบไฮเดรต 1-2ครั้ง แล้วกระตุ้นการแตกรากใหม่ให้แข็งแรงด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15อัตรา 60 กรัมผสมฮิวมิค แอซิด 100 มิลลิลิตร /น้ำ 20ลิตรราดใต้บริเวณทรงพุ่มทุกๆ 7 วัน 2-3 ครั้ง
1.3 การกระตุ้นแตกใบอ่อนครั้งที่ 1
ฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 46-0-0หรือ30-20-10อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทุก 7-10 วันจำนวน 2 ครั้ง หรือใช้ไทโอยูเรีย อัตรา 100-200 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วันจำนวน 1-2 ครั้งช่วยให้ลำไยแตกใบเร็วขึ้น รูปที่ 2
สำหรับการเร่งให้ใบอ่อนแก่เร็วควรฉีดพ่นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตผสมสังกะสีและแม็กนีเซียม ทุก 10-15วันจำนวน 2-3 ครั้ง
1.4 การกระตุ้นแตกใบอ่อนครั้งที่ 2,3
การกระตุ้นแตกใบอ่อนเหมือนครั้งที่ 1 และเมื่อใบเข้าสู่ ระยะเพสลาด อายุ 3 สัปดาห์ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมการออกดอกสูตร 8-24-24,14-7-28 13-13-21 หรือ 15-15-20อัตรา 1-3 กิโลกรัม รดน้ำให้ชุ่ม และฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 10-45-10,12-48-12 หรือ 0-52-34 ทุก 7-10 วันจำนวน 2-3 ครั้ง เพื่อให้ลำไยหยุดการพัฒนาทางใบแต่ สะสมอาหารแป้งและน้ำตาล
1.5 การราดสาร โพแตสเซี่ยมคลอเรต
1.5.1 เมื่อใบเริ่มแก่ ทำความสะอาดโคน และวัชพืช ยึดโยงกิ่งระดับดินให้สูงขึ้นจากดิน 1 เมตร เพื่อให้ใต้ทรงพุ่มแห้ง และทำการพ่นปุ๋ยทางใบ 10-20-30, 13-0-46หรือ 0-52-34 อัตรา 500 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วันจำนวน 1-2 ครั้ง
1.5.2 เมื่อใบแก่สีเขียวเข้ม เนื้อใบหนาเป็นมันกิ่งมีสีน้ำตาลแดง ก้านใบกางออก ก็ให้ดำเนินการให้น้ำแบบพรมพอหมาดๆ ตัดแต่งกิ่งเล็ก กิ่งในทรงพุ่มในช่วง 7-10 วัน(อย่านานเกินอาจทำให้การแตกใบใหม่ได้)ก่อนราดสารฯ
1.5.3 การราดโพแตสเซี่ยมคลอเรต ทั้งแบบผสมน้ำ หรือแบบหว่าน ใต้ทรงพุ่มเป็นวงกลมกว้าง 50-100 เซนติเมตรถ้าแบบหว่านควรให้น้ำพอหมาด มาก่อน
1.5.4 อัตราการใช้ดังนี้
ตารางที่ 1 ปริมาณการใช้โพแตสเซี่ยมคลอเรต/ทรงพุ่ม
เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม(เมตร)---------- อัตราการใช้(กรัม/ต้น)
--------3------------------------------------------- 50-150
--------4------------------------------------------ 100-250
--------5------------------------------------------ 150-400
--------6------------------------------------------ 250-500
--------7------------------------------------------ 300-750
--------8------------------------------------------ 400-1000
--------9------------------------------------------ 500-1250
-------10----------------------------------------- 600-1500

	1.6	การปฏิบัติหลังการราดสารโพแตสเซี่ยมคลอเรต

1)ให้น้ำสม่ำเสมอต่อเนื่อง ทุกๆ 3-5 วันเพื่อสารโพแตสเซี่ยมคลอเรตแพร่กระจาย เพื่อให้ต้นลำไยดูดสารโพแตสเซี่ยมคลอเรต มากที่สุด ประมาณ 3-5 สัปดาห์ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก(ปกติลำไยจะออกดอกหลังราดสารฯแล้ว 18-25 วัน)
1.7 การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแทงช่อดอก
เพื่อกระตุ้นการแตกตาดอกหลังสาร 7-10 วัน ให้ฉีดพ่น สารสาหร่ายสกัด 40- 80 มิลลิลิตร และปุ๋ย 13-0-46 อัตรา 500 มิลลิกรัมในน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ลำไยแทงช่อดอกมากขึ้นรูปที่ 5
1.8 การดูแลช่วงออกดอก
ช่วงเวลาที่ลำไยพัฒนาการออกดอกจะใช้เวลา6-8 สัปดาห์ต้นลำไยจะใช้อาหารสะสมไว้เพื่อสร้างตาดอกและพัฒนาส่วนสึกหรอส่วนอื่นๆ ลำไยแสดงอาการขาดไนโตรเจน ใบกร้าน สีเขียวซีด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลลำไยด้อยคุณภาพได้ จำเป็นต้องเพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นลำไยดังนี้
1.8.1ให้ปุ๋ยในช่วงลำไยแทงช่อดอกยาว 10-15เซนติเมตรด้วย 25-7-7หรือ 15-0-0 อัตรา 1-3 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมี 21-0-0อัตราส่วน 10:1 ปริมาณ 2-3 กิโลกรัม/ส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร
1.8.2 ควรให้น้ำเพื่อพัฒนาช่อดอกให้ยืดยาวและค่อยๆลดลง 1น 3 ของปริมาณที่ให้ปกติ
1.8.3 เพื่อให้ช่อดอกพัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉีดพ่นด้วย จิ๊บเบอเรลลิน 1ครั้งไม่ควรใช้เกิน 2 ครั้งจะส่งผลกระทบต่อการติดผลน้อย เนื่องจากจะมีการชักนำดอกตัวผู้มากเกินไป
1.8.4 ช่วงลำไยแทงช่อใหม่มักจะมีศัตรูพืชเข้าทำลายได้แก่ หนอนกัดกินช่อและดอกลำไย มวนลำไย เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยทำให้ดอกแห้งแล้ว ยังให้ผลเป็นราดำตามมา
1.รูปที่1.ตัดแต่งกิ่ง

2.รูปที่2.ใบแก่พร้อมราดสาร

3.รูปที่3 ราดสารโปแตสเซี่ยมไนเตรท

4 รูปที่4 ลำไยแทงช่อ

รูปที่ 5 ลำไยแก่

2 Likes

ขอบคุณครับคุณน้าที่ตอบคำถามครับ