ข้าวมีอาการโคนเน่า รักษาอย่างไรครับ
โรคเม้าตอซังครับ ให้ถ่ายน้ำออกให้แห้งเลย ส่วนยา รอ อ.อรพรรณมาตอบครับ
เป็นอาการของ โรคเมาตอซัง
สาเหตุ: เกิดจากความเป็นพิษของสภาพดินและน้ำ
ลักษณะอาการของโรค: เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือ ระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่างๆ มีอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล จะพบในขณะที่ขบวนการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษไปทำลายรากข้าวเกิดอาการรากเน่าดำ ทำให้ไม่สามารถดูดสารอาหารจากดินได้ ต้นข้าวแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ในขณะเดียวกันมักจะพบต้นข้าวสร้างรากใหม่ในระดับเหนือผิวดิน ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเกิดจากเกษตรกรทำนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักนาและเกิดการหมักของตอซังระหว่างข้าวแตกกอ
**การจัดการ
๑.ควรระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
๒.หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
๓. ถ้าพบว่ามี อาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล
๓. ๑.ใส่ปุ๋ยแคลเซี่ยมคลอไรด์ อัตรา ๕-๑๐ กก.ต่อไร่ ช่วยให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง
๓.๒.พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช กลุ่มรหัส 1( เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไธอะเบนดาโซล ไทโอฟาเนทเมทิล) สารกลุ่มรหัส 3 ( ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล เป็นต้น ) และสารกลุ่มมรหัส 11 ( อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น) และ ผสม ด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป ซิงค์ไทอะโซล และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสดื้อของเชื้อสาเหตุ
๔. ถ้าไม่พบอาการ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อย ปฏิบัติเฉพาะ ข้อ ๓.๑.
ขอบคุณครับ
ขอเพิ่มเติม
อาการโคนเน่า มีการแทรกซ้อนของเชื้อรา sclerothium สาเหตุโรคลำต้นเน่าแล้ว ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพื ชกลุ่มรหัส 7 (คาร์บอกซิน)
หลังจากถ่ายน้ำออก พ่นสาร คาร์บอกซิน ก่อน โดยพ่นให้ถึงส่วนโคนต้น ส่วนอาการใบจุดไม่รุนแรงนักเว้นไว้ก่อน อย่าใช้สารฯผสมกัน